โรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี
อยู่ในสังกัดกลุ่มงานควบคุมคุณภาพน้ำ 2 ส่วนปฏิบัติการควบคุมคุณภาพน้ำ
สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองช่องนนทรี บริเวณแยกถนนพระราม 3
กับถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานครโทร 0 2295 1148-2
รายละเอียด
- พื้นที่บริการบำบัดน้ำเสีย : 28.5 ตารางกิโลเมตร
- ประชากร ระยะที่ 1
(พ.ศ. 2558) : 580,000 คน
- ประชากร ระยะที่ 2
(พ.ศ. 2563) : 1,000,000
คน
- เขตพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสีย : อยู่ในท้องที่แขวงสี่พระยา แขวงสุรวงค์
แขวงสีลม บางส่วนของแขวงบางรัก
เขตบางรัก แขวงยานนาวา
แขวงทุ่งวัดดอน แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร แขวงวัดพระยาไกร
แขวงบางโคล่ แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม แขวงช่องนนทรี แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา
- ความยาวท่อรวบรวมน้ำเสีย : 55 กิโลเมตร
- ปริมาณน้ำเสียที่ท่อรวบรวมน้ำเสียสามารถรับได้ : 2,000,000 ลบ.ม./วัน (5 DWF)
- ความสามารถการบำบัดน้ำเสีย : 200,000 ลบ.ม./วัน
- พื้นที่โรงควบคุมคุณภาพน้ำ : 20 ไร่ (32,000
ตารางเมตร)
- สถานีสูบน้ำย่อย : 3 แห่ง คือ 1). ถนนพระราม 3 บริเวณหน้าวัดด่าน
2). ถนนเจริญกรุง บริเวณสะพานตากสิน
3). คลองช่องนนทรี บริเวณแยกถนนสาทร
- กระบวนการบำบัดน้ำเสีย : Activated sludge แบบ CASS
- งบประมาณค่าออกแบบรวมก่อสร้าง : 4,552,000,000.-
บาท
(รัฐบาล:กทม =
60:40)
- งบประมาณค่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษา : 155,000,000.-บาท
- สัญญาก่อสร้าง : 24 กรกฎาคม 2538 – 14 ธันวาคม 2542
- เดินระบบบำบัดน้ำเสีย : 1. ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม
2542 เดินระบบโดย สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร
2.
ตั้งแต่ 15 มีนาคม 2547 โกลบอล ยูทิลิตี้ เซอร์วิส จำกัด (GUSCO)
เป็นผู้รับจ้างเดินระบบ
- กลุ่มบริษัทผู้รับจ้าง : กลุ่มบริษัท SAMSUNG
LOTTE-CEC Joint Venture
- กลุ่มบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา : กลุ่มบริษัท METCALF
& EDDY
INTERNATIONAL INC
กระบวนการบำบัดน้ำเสีย
1) การบำบัดขั้นต้น
· Inlet chamber รับน้ำเสียจากระบบท่อรวม ภายในมีตะแกรงหยาบสำหรับตักขยะที่มากับน้ำเสีย
· Inlet pumping station สูบน้ำเสียที่ถูกตักขยะออกไปแล้ว ไปยัง Dynamic separator
· Storm chamber กรณีที่ฝนตกหนัก รับน้ำเสียที่ถูกเจือจางโดยน้ำฝนแล้ว ซึ่งไหลล้นมาจาก Inlet
pumping station และไหลต่อไปที่ Storm pumping station
· Dynamic separator เป็นถังกลมมีหน้าที่แยกของแข็งหยาบและกรวดทรายออกจากน้ำเสีย
โดยใช้หลักการหมุนวน (Vortex) ของแข็งหยาบจะตกลงที่ก้นถัง มี
Submersible pump สูบน้ำเสียที่ก้นถังไปแยกต่อไป
ส่วนน้ำเสียส่วนบนจะไหลต่อไปที่ Band screen
· Screening and grit
removal ประกอบด้วย Underflow screen และ Grit
classifier เพื่อแยกของแข็งหยาบออกจากน้ำเสียที่ถูกสูบมาจาก Dynamic
separator ก่อนไหลต่อไปที่ band screen
· Fine screen เป็น Fine screen แบบ Vertical มีหน้าที่แยกของแข็งที่มีขนาดเล็กออกจากน้ำเสีย
· Storm pumping station รับน้ำจาก Storm chamber และน้ำจะถูกส่งต่อไปยัง Storm
screen
· Storm screen จะมีทั้งชนิด Rotary storm screen และ Static
storm screen ทำหน้าที่แยกของแข็งที่ปะปนมากับน้ำ
ก่อนปล่อยลงสู่คลองช่องนนทรี ที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา
2) การบำบัดทางชีวภาพ
· CASS feed pumping station
สูบน้ำเสียที่ผ่านการแยกขยะและของแข็งออกแล้วไปสู่การบำบัด
ขั้นที่สอง (CASS)
· CASS basin บัดน้ำเสีย
เพื่อลดค่า BOD, ของแข็งแขวนลอย. ไนโตรเจน
และฟอสฟอรัส มีการเติมอากาศโดยใช้ air blower จ่ายลมผ่านหัวเติมอากาศ
(Air diffuser) มีเครื่องสูบตะกอนหมุนเวียนตะกอนในถังและมีเครื่องสูบตะกอนส่วนเกินออกจากถังภายในถังมี
Decanter เพื่อรับน้ำใสที่บำบัดแล้วออกจากถัง
การทำงานของถังจะทำงานแบบมีขั้นตอน (Sequence batch) สารเคมี
Alum ใช้สำหรับช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ การบำบัดฟอสฟอรัส
· Outfall cascade น้ำทิ้งผ่านการบำบัดแล้ว
ช่วยให้น้ำทิ้งมีปริมาณออกซิเจนเพิ่มขึ้นจากการสัมผัสกับอากาศก่อนไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
3) การกำจัดตะกอนและสิ่งปฏิกูล
· Night soil reception tank
ของเสียจากบ่อเกรอะโดยรถดูดส้วม ภายในถังประกอบด้วย Screen
& compactor และ Grit classifier screen เพื่อแยกของแข็งหยาบออกจากของเสีย
มี submersible mixer เพื่อกวนไม่ให้เกิดการทับถมของตะกอน
และมีเครื่องสูบตะกอนออกจากถัง
· Sludge buffer เป็นถังเก็บตะกอนที่มาจาก CASS basin และ Night
soil reception tank ภายในถังมีการเติมอากาศจาก Air blower ด้วย
· Combined belt press เป็นเครื่องรีดตะกอนที่มาจาก Sludge buffer tank ตะกอนจะถูกผสมกับโพลีเมอร์
เพื่อให้สามารถรีดน้ำออกจากตะกอนได้ง่าย หลังจากผ่านการรีดตะกอนจะแห้งจะถูกผสมกับ Lime
· Sludge lime conditioning ปรับสภาพตะกอนแห้งให้แห้งมากขึ้นให้ได้ 20% ก่อนที่จะนำไปกำจัด
ข้อมูลคุณภาพน้ำของระบบบำบัดน้ำเสีย
(ค่าเฉลี่ย ปี พ.ศ. 2549)
พารามิเตอร์
|
น้ำเข้าระบบ
|
น้ำออกระบบ
|
ปริมาณน้ำเสียเข้าระบบ (Flow) เฉลี่ย (ลบ.ม./วัน)
|
124,576
|
200,000 (ออกแบบ)
|
ค่า บีโอดี (BOD) (มก./ลิตร)
|
31.51
|
5.68
|
ค่าสารแขวนลอย (SS) (มก./ลิตร)
|
47.54
|
11.34
|
ค่าฟอสฟอรัส (TP)(มก./ลิตร)
|
2.41
|
1.49
|
ค่าเจลดาห์ลไนโตรเจน (TKN)(มก./ลิตร)
|
9.89
|
1.85
|
ค่าไนโตรเจน (TN)(มก./ลิตร)
|
10.53
|
6.13
|
ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)
|
7.33
|
7.41
|
ค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO)
(มก./ลิตร)
|
-
|
6.53
|
|
แสดงโรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี
|
รูปแสดงขอบเขตพื้นที่บริการสำหรับโรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี
|
โรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี